วัดเทพนิมิตร วัดพระนอน จังหวัดฉะเชิงเทรา

วัดเทพนิมิตร วัดพระนอน

วัดเทพนิมิตร วัดพระนอน จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.. 2479 สร้างขึ้นเมื่อ พ.. 2411 สมัยรัชกาลที่ 5 โดยท่านพระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน เทวนิโก) จากวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ได้ธุดงค์มาพำนัก ณ ที่นี้ และแสดงธรรมแก่ญาติโยมในละแวกนั้น จนมีผู้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก ได้ชักชวนกันซื้อที่ดินและยกเรือนถวายเพื่อสร้างวัด

พระครูศิริปัญญามุนีได้สร้างกุฎิสงฆ์ ปลูกเป็นหมู่กุฎิล้อมหอฉัน มีที่สวดมนต์อยู่ตรงกลาง ทั้งสร้างศาลาการเปรียญ และศาลาเล็ก แล้วเสร็จประมาณ พ.. 2421 – 2422 ตั้งชื่อว่า วัดเทพนิมิตร เนื่องจากจากกการก่อสร้างเสร็จเร็วราวว่ามีเทวดามาช่วยสร้าง และมอบให้พระอาจารย์ท้วม ปกครองวัดแทน

พระนอนกระจกเก่าแก่ วัดเทพนิมิตร วัดพระนอน

จุดน่าสนใจภายในวัด คือ วิหารพระนอนกระจก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ (พระนอน) ประดับด้วยกระจก ปูนปั้น ลงรักปิดทอง พุทธลักษณะบรรทมตะแคงขวา พระหัตถ์ขวาชันพระเศียรตั้งขึ้น พระหัตถ์ซ้ายทอดไปตามพระวรกาย พระบาทซ้ายซ้อนพระบาทขวา

พระนอนกระจก ถือเป็นพระพุทธไสยาสน์ที่องค์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดฉะเชิงเทรา องค์พระมีขนาดยาว 9 เมตร สร้างขึ้นประมาณปี พ.. 2419 โดยท่านพระครูศิริปัญญามุนี วัตถุประสงค์สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงการปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

บริเวณหน้าวิหารพระนอนกระจก มีท้าวเวสสุวรรณให้ได้สักการะบูชา และบริเวณข้างยังมีวิหารพระสังกัจจายน์ และวิหารหลวงพ่อองค์ดำ

จุดน่าสนใจอีกหนึ่งจุด คือ พระประธานที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีความเก่าแก่ อายุหลายร้อยปี ซึ่งพระครูศิริปัญญามุนีได้มาจากวัดทางจังหวัดราชบุรี เนื้อทองสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง สังฆาฏิ จีวร ลายดอกพิกุล ชาวบ้านเรียกพระประธานองค์นี้ว่า หลวงพ่อโต และนิยมบนด้วยประทัด

* ทาง RB-Thailand ได้โทรถามทางวัดถึงเวลาปิดวิหารพระนอน เนื่องจากวันที่เดินทางไปนั้นรถติด ซึ่งปกติวัดปิดเวลา 17.00 . ทางวัดคงเห็นถึงความศรัทธาตั้งใจไปสักการะพระนอนกระจก จึงยังเปิดวิหารพระนอนไว้ให้ถึง 17.30 . เลยได้มีโอกาสเข้าไปสักการะองค์พระนอน แต่ไม่ได้เข้าชมพระอุโบสถ เพราะทางวัดน่าจะกำลังสวดมนต์ทำวัตร

วัดเทพนิมิตร เปิดให้เข้าชมและสักการะทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 . ตั้งอยู่ 495 ถนนศุภกิจ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา

ทำเนียบวัดพระนอน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *