วัดสวนพลู วัดพระนอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร

วัดสวนพลู วัดพระนอน

วัดสวนพลู วัดพระนอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2340 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2391 เดิมชื่อว่า วัดคลองล้อม เนื่องจากสมัยนั้นมีคลองน้ำใหญ่ล้อมรอบวัด เป็นคลองแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีตคลองนั้นมีความกว้างมากจนเรือของพ่อค้าชาวจีนสามารถกลับลำเรือได้ แต่ปัจจุบันคลองดังกล่าวได้กลายเป็นถนนสีลมไปแล้ว ส่วนชื่อ สวนพลู มาจากที่บริเวณรอบวัดมีชาวจีนปลูกพลูกันเป็นอาชีพ จากที่เคยเรียกว่า วัดคลองล้อม จึงเปลี่ยนเป็น วัดสวนพลู จนถึงปัจจุบัน

สิ่งน่าสนใจภายใน วัดสวนพลู วัดพระนอน

วิหารพระพุทธไสยาสน์ วิหารหลังเดิมพร้อมด้วยพระพุทธไสยาสน์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2501 เวลาผ่านไปวิหารหลังเดิมได้ทรุดโทรม พื้นที่ในตัวอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์นั้นต่ำกว่าพื้นบริเวณภายนอก ยากที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพเดิมได้

ทางวัดจึงได้ดำเนินการก่อสร้างวิหารหลังใหม่ขึ้น โดยได้รับอุปถัมภ์ในการดำเนินการก่อสร้างจากคณะท่านผู้ที่มีจิตศรัทธาที่ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อเป็นทุน และทางวัดก็ได้ใช้ทุนทรัพย์ของวัดส่วนหนึ่งดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2536

ภายในวิหารยังประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ และมีพระพุทธรูปสำคัญ คือ หลวงพ่อพระป่าเลไลย์ เล่ากันว่า ท่านได้ช่วยชาวบ้านที่ไปหลบภัยบริเวณรอบองค์พระให้พ้นจากลูกระเบิดที่ทิ้งมาจากเครื่องบินในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

หมู่กุฏิของพระสงฆ์ เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นด้วยลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า ขนมปังขิง โดยมีต้นแบบมาจากบ้านสไตล์วิคตอเรียในประเทศอังกฤษ แต่ก่อนมี 8 หลัง ได้รื้อออกไปสร้างอาคารใหม่ ปัจจุบันเหลือ 3 หลัง มีการซ่อมแซมหลายครั้ง แต่ก่อนมีสีครีมเหลือง แต่ตอนนี้เป็นสีแดงเข้ม ตัดขอบขาว ความสวยงามของหมู่กุฏินี้ยังได้การการันตีด้วยรับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทยจากสมาคมสถาปนิกสยาม เมื่อปี พ.ศ.2545 อีกด้วย

ศาลพระโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม เป็นศาลาทรงไทยที่ตั้งอยู่กลางน้ำ ภายในประดิษฐานพระโพธิสัตว์กวนอิม สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งในช่วงนั้นมีชาวจีนเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวจีนเหล่านั้นจึงได้ร่วมกันสร้างพระโพธิสัตว์กวนอิมขึ้นเพื่อเป็นที่เคารพแก่ชาวจีนในพื้นที่นั้น

อุโบสถ ด้านนอกตกแต่งด้วยงานปูนปั้นประดับกระจก ส่วนเครื่องบนประดับด้วยปูนปั้นเป็นรูปเทวดานางฟ้าอย่างสวยงาม

ทำเนียบวัดพระนอน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *