ความหมายบทสวดพาหุง บทที่ 4 ชัยชนะเหนือโจรภัย

ความหมายบทสวดพาหุง บทที่ 4

ความหมายบทสวดพาหุง บทที่ 4 บทสวดพาหุงฯ ที่หลายคนท่องได้แล้ว และบางคนกำลังหัดท่อง ชื่อเต็มว่าชัยมงคลคาถา” เป็นบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ที่นำเอาเหตุการณ์ต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงผจญและชนะมาร รวมไว้ในคาถานี้ เป็นชัยชนะที่ไม่ได้ใช้พละกำลังหรือปาฏิหาริย์ แต่อยู่เหนือมารผจญทั้งหลาย โดยใช้ธรรมะและความอดทนอดกลั้น เป็นบทสวดมนต์ที่มีค่ามากที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา จากความไม่ดีของมารทั้ง 8 ประการ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสวดบทนี้ทุกครั้งเพื่อใช้ในการทำราชสงคราม เพื่อให้มีชัยเหนืออริราชศัตรู อย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเอาชัยชนะได้ ซึ่งบทนี้จะกล่าวถึงบทที่ 4 ชัยชนะเหนือโจรภัย (อิทธิฤทธิ์)

บทสวดพาหุง

พาหุงมหากา ความหมายบทสวดพาหุง บทที่ 4

บทที่ 4 ชัยชนะเหนือโจรภัย (อิทธิฤทธิ์)

กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่อจอมโจรองคุลีมาล ผู้ซึ่งฆ่าคนมาแล้วถึง 999 คน หมายฆ่าพระพุทธองค์ให้ครบ 1,000 แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงเอาชนะได้ ด้วยพุทธรรม การกระทำปาฏิหาริย์ โดยไม่ต้องใช้อาญา และศาตราวุธใดๆ ทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจ

องคุลีมาล เดิมชื่อ อหิงสกะ ตอนเด็กๆ เป็นผู้ไม่เบียดเบียนใคร เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย เรียนเก่ง บิดาจึงส่งไปศึกษาศิลปะวิทยาที่สำนักอาจารย์ ทิศาปาโมกข์ เมืองตักสิลา เด็กหนุ่มอหิงสกะขยันศึกษาเล่าเรียนเชื่อฟังคำสั่งสอนของอาจารย์ เป็นที่รักของอาจารย์มาก จนกระทั่งบรรดาศิษย์ร่วมสำนักอิจฉา จึงหาทางกำจัดอหิงสกะ ทยอยกันเข้าไปฟ้องอาจารย์ ในที่สุดท่านก็เชื่อสนิทว่าอหิงสกะคิดประทุษร้ายตน ตามคำยุแยงของบรรดาศิษย์ อาจารย์จึงวางแผนกำจัดศิษย์โดยออกอุบายว่าถึงเวลาประสาทอิทธิมนต์ให้ แต่จำเป็นต้องตัดนิ้วมือคนให้ครบหนึ่งพัน แล้วนำมาเซ่นไหว้เทวดารักษามนต์ อหิงสกะผู้เคารพอาจารย์มาตั้งแต่ต้นและรู้ว่าอาจารย์รักและหวังดีต่อตนไม่น้อย เมื่อได้ฟังอาจารย์สั่งเช่นนั้นก็ได้ปฏิบัติตาม

ครั้งแรกๆ เขาฆ่าแต่ผู้ที่มีใจอำมหิตย์ที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และจำกัดอยู่เพียงในระแวกป่า แต่เมื่อเขาฆ่าคนไปจำนวนมาก จิตใจจึงวิปริตแปลกไปจากเดิม คิดว่าการฆ่าไม่ใช่ความผิด ไม่นานนักชื่อเสียงเขาก็เลื่องลือไปทั่ว เป็นที่หวาดกลัวของประชาชนจนไม่มีใครเดินผ่านแนวป่า เขาตัดนิ้วมือคนแล้วร้อยเป็นพวงนำมาคล้องที่คอ ด้วยเหตุนี้ผู้ที่พบเห็นจึงตั้งสมญานามให้เขาว่าองคุลีมาลแปลว่า ผู้มีนิ้วมือเป็นพวงมาลัย ประชาชนทั้งหลายได้ร้องทุกข์ต่อพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงยกกองกำลังไปปราบโจรองคุลีมา มารดาของอหิงสกะทราบข่าวกลัวว่าลูกชายจะถูกฆ่าตาย จึงวิ่งออกไปตามหาลูกชายด้วยความเป็นห่วง องคุลีมาลได้ยินเสียงชราก็รู้สึกคุ้น แต่ ณ เวลานั้น นิ้วมือนิ้วสุดท้ายที่เหลืออีกนิ้วเดียวก็จะครบพัน จึงสำคัญมากกว่าที่จะเสียเวลาคิดว่าหญิงชราผู้นั้นเป็นใคร

พระบรมศาสดาทรงแผ่พระญาณพิจารณาดูสัตว์โลก ทรงทราบว่าโจรองคุลีมาลมีอุปนิสัยปัจจัยที่จะได้บรรลุธรรมพร้อมอยู่แล้ว แต่ทว่าวันนี้เขาทำมาตุฆาต (ฆ่ามารดา) โอกาสจะบรรลุธรรมสำเร็จมักผลเป็นพระอรหันต์คงจะไม่มี ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงเสด็จไปดักหน้า องคุลิมาลจึงหมายฆ่าพระพุทธเจ้า ขอแค่ให้ได้นิ้วครบพัน ไม่สนใจว่าเป็นสมณะหรือไม่ พระพุทธองค์ทรงบันดาลฤทธิ์ให้มหาโจรวิ่งไม่ทัน ทั้งๆ ที่เสด็จดำเนินไปตามปกติ มหาโจรได้โกนว่า

หยุด สมณะ หยุด

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า

ดูก่อนองคุลีมาล ตถาคตนั้นหยุดแล้ว แต่ท่านสิ ยังไม่หยุด ตถาคตนั้นหยุดจากการเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายแล้ว ประกอบด้วยความเมตตาและขันติ ตถาคตจึงได้ชื่อว่าหยุดแล้ว แต่ตัวของท่านยังไม่หยุด มีน้ำใจโหดเหี้ยมหยาบช้านัก ท่านจะเสวยทุกข์ลำบากอยู่ช้านาน

ฝ่ายองคุลีมาลได้ฟังพุทธดำรัสเพียงเท่านั้นสติสัมปชัญญะก็กลับคืน เขาได้เห็นพระพักตร์ของพระสมณะก็ยิ่งเกิดความรู้สึกเปลี่ยนแปลงขึ้นในใจ เขาทิ้งดาบลงก้มกราบเฉพาะพระพักตร์ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า องคุลีมาลได้การบทูลขอบรรพชา ที่นั้น

พระองคุลีมาลได้ตามเสด็จพระบรมศาสดาไปยังวัดพระเชตวัน องคุลีมาลใช้เวลาที่เหลือทั้งหมดในชีวิตของตนอุทิศให้กับการบำเพ็ญจิตภาวนา ไม่นานนักก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตัดกิเลสได้สิ้นเชิง จริงอยู่แม้พระองคุลีมาลจะเป็นพระอรหันต์ที่ไม่ก่อกรรมทำเข็ญกับใครอีก แต่ส่วนกรรมเก่าที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ไม่สูญหาย ด้วยเหตุนี้ในบางวันที่ท่านออกบิณฑบาต จึงถูกกลุ่มชาวบ้านที่อาฆาตแค้นและจำได้ว่าท่านคืออดีตมหาโจรร้ายก็พากันเอาก้อนอิฐก้อนหินขว้างจนท่านศีรษะแตกเลือดไหล แต่ก็จำต้องทนตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จนกระทั่งวันหนึ่ง ท่านพบสตรีมีครรภ์แก่ ท่านตั้งสัตยาธิษฐานทำให้สตรีนางนั้นคลอดบุตรอย่างง่ายดาย และปลอดภัย ผู้คนทั้งหลายจึงหายหวาดกลัว และเชื่อว่าท่านสามารถทำให้สตรีคลอดบุตรได้ง่าย

ความหมายบทสวดพาหุง บทที่ 4

หลักธรรมที่ควรรู้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *