ความหมายของบทสวดพาหุงมหากา ประวัติพุทธชัยมงคลคาถา

ความหมายของบทสวดพาหุงมหากา

ความหมายของบทสวดพาหุงมหากา “บทสวดพาหุง” ในภาษาบาลีคือพาหุงมหาการุณิโก หรือ พาหุงมหากา” เรียกเป็นทางการว่าชยมังคลอัฏฐกคาถา” (อ่านว่า ชะยะมังคะละอัตถะกะคาถา) คือ คาถาอันเป็นมงคลของชัยชนะ ๘ ประการ มีความยาว ๘ บท ปัจจุบันมักใช้สวดต่อจากคาถาทำวัตรเช้าหรือเย็น ความมงคลของคาถาบทนี้ อยู่ที่สารธรรม พุทธวิธีที่พระพุทธองค์ทรงใช้เอาชนะหมู่มนุษย์และมารผจญทั้งปวง ที่ไม่ใช่ทรงชนะมาได้ด้วยพละกำลัง แต่ทรงได้มาด้วยพระธรรมของพระองค์ เป็นชัยชนะที่ไม่ต้องมีการเสียเนื้อของผู้เข้ามาผจญแต่อย่างใด มีทั้งหมด ๘ บท แตกต่างกันทั้ง ๘ บท

ขยายความ ความหมายของบทสวดพาหุงมหากา

การสวดมนต์ถือเป็นการบูชาเพื่อรำลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัย เป็นความสบายใจ น้อมจิตให้มีสติในเสียงสวดมนต์แม้ไม่รู้ความหมาย แต่ถ้าหากรู้ความหมายก็จะทำให้ได้เกิดการพิจารณาในธรรม

1. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

บทที่ 1 ชัยชนะเหนือศัตรูหมู่มาก (ทานบารมี)

ขยายความ : กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่อกองทัพพญามารในคืนวันตรัสรู้ เป็นการต่อสู้ระหว่างพระพุทธเจ้ากับศัตรูหมู่มารผู้มีอิทธิฤทธิ์ และมีจำนวนมาก แต่พระพุทธองค์ก็ทรงเอาชนะหมู่มารได้ ด้วยธรรมวิธี ทรงนึกพระบารมีทั้ง 10 ประการ ที่ทรงบำเพ็ญแล้ว ด้วยทานบารมี

คาถาบทนี้นิยมใช้สำหรับการเอาชนะศัตรูหมู่มาก

ความหมายบทที่ 1

2. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

บทที่ 2 ชัยชนะเหนือใจคนที่กระด้างกระเดื่อง (ขันติธรรม)

ขยายความ : กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่ออาฬวกยักษ์ที่ดุร้าย จิตใจเต็มไปด้วยโทสะและโมหะ ที่พยายามมาทำร้ายพระองค์อยู่ตลอดคืน แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงเอาชนะอาฬวกยักษ์ได้ ด้วยขันติวิธีที่ทรงฝึกฝนมาอย่างดี

คาถาบทนี้นิยมใช้สำหรับการเอาชนะศัตรูผู้กระด้างกระเดื่อง ศัตรูผู้เป็นอันธพาล เป็นต้น

ความหมายบทที่ 2

3. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

บทที่ 3 ชัยชนะเหนือสัตว์ร้าย หรือคู่ต่อสู้ (เมตตาบารมี)

ขยายความ : กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่อช้างนาฬาคีรี เนื่องด้วยพระเทวทัตทรยศต่อพระพุทธเจ้า จึงได้ปล่อยช้างที่กำลังตกมันชื่อนาฬาคีรี เพื่อมาทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ก็ทรงเอาชนะช้างนั้นได้ ด้วยเมตตาบารมี

คาถาบทนี้นิยมใช้สำหรับการเอาชนะสัตส์ร้ายต่างๆ หรือคู่ต่อสู้

ความหมายบทที่ 3

4. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

บทที่ 4 ชัยชนะเหนือโจรภัย (อิทธิฤทธิ์)

ขยายความ : กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่อจอมโจรองคุลีมาล ผู้ซึ่งฆ่าคนมาแล้วถึง 999 คน หมายฆ่าพระพุทธองค์ให้ครบ 1,000 แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงเอาชนะได้ ด้วยพุทธรรม การกระทำปาฏิหาริย์ โดยไม่ต้องใช้อาญา และศาตราวุธใดๆ ทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจ

คาถาบทนี้นิยมใช้สำหรับการเอาชนะโจรภัย

ความหมายบทที่ 4

5. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

บทที่ 5 ชัยชนะเหนือการกล่าวร้ายใส่โทษ (สันติธรรม)

ขยายความ : กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้ากับนางจิญจมาณ ผู้ซึ่งแสร้งทำเป็นหญิงมีครรภ์ ด่าว่าใส่ร้ายพระพุทธองค์ แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงเอาชนะ ด้วยสันติธรรม โดยการสงบ ระงับพระหฤทัย เป็นสง่าเฉยอยู่ท่ามกลางหมู่คน ให้ความจริงปรากฏว่าเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่โทษ

คาถาบทนี้นิยมใช้สำหรับการเอาชนะการกล่าวร้ายใส่โทษ หรือคดีความ

ความหมาบบทที่ 5

6. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

บทที่ 6 ชัยชนะเหนือการโต้เถียง โต้ตอบ (ปัญญา)

ขยายความ : กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่อสัจจกนิครนถ์ ผู้มีความทะนงตนเองว่าเป็นผู้รู้มาก หวังจะโต้วาทะกับพระพุทธเจ้า แต่พระองค์ทรงเอาชนะสัจจกนิครนถ์ ด้วยเทศนาญาณวิธี แล้วตรัสเทศนาสอนให้เห็นความจริง เป็นการเอาชนะด้วยความแยบคลายทางปัญญา

คาถาบทนี้นิยมใช้สำหรับการเอาชนะการโต้เถียง และการโต้วาทีต่างๆ

ความหมาบบทที่ 6

7. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

บทที่ 7 ชัยชนะเหนือเล่ห์เหลี่ยม กุศโลบาย (มิจฉาทิฐิ)

ขยายความ : กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่อนันโทปนันทนาคราช ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก พระพุทธองค์ทรงเอาชนะด้วยมิจฉาทิฐิ ได้โปรดให้พระโมคลานะเถระ อัครสาวกเบื้องซ้าย ใช้อิทธิฤทธิ์นิรมิตกายเป็นนาคราชทรมานให้นันโทปนันทนาคราชสิ้นฤทธิ์จนพ่ายแพ้

คาถาบทนี้นิยมใช้สำหรับการเอาชนะเล่ห์เหลี่ยม กุศโลบายต่างๆ

ความหมาบบทที่ 7

8. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

บทที่ 8 ชัยชนะเหนือทิฏฐิของมนุษย์ (ญาณ)

ขยายความ : กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่อพญาผกะพรหม พรหมผู้เป็นใหญ่แห่งพรหมโลก เพราะพระพรหมผู้นี้หลงผิดสำคัญตน มีฤทธิ์สูงส่ง พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ด้วยวิธีเทศนาญาณ ชี้ให้เห็นแจ้งถึงความไม่เที่ยง

คาถาบทนี้นิยมใช้สำหรับการเอาชนะผู้ใหญ่ และผู้ที่มีทิฐิ มานะ

ความหมาบบทที่ 8

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพรุพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุกๆ วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพานอันบรมสุข นั้นแลฯ

ประวัติที่มา บทสวดพาหุง คาถาชนะมาร

ยังไม่มีหลักฐานระบุไว้อย่างแน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่ง นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า คือ พระมหาพุทธสิริเถระ ซึ่งรจนาคัมภีร์ฎีกาพาหุง ในราว พ.. 2006

และยังมีความเชื่อว่า คาถานี้ชื่อ “บทถวายพรพระ” เพราะแต่งถวายพระเจ้าแผ่นดินให้ชนะศึก จากคำบอกเล่าของ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโมแห่งวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ท่านเกิดนิมิตว่าได้พบสมเด็จพระพนรัตน์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช บอกว่าเป็นผู้แต่งคาถาบทนี้ เพื่อถวายให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสวดระหว่างอยู่ในพระบรมราชวัง และในยามออกศึกสงคราม ทำให้ทรงได้รับชัยชนะกลับมาทุกครั้ง พระพนรัตน์บอกให้ท่านไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล และท่านก็ได้พบจารึกเล่มนั้นในโพรงของพระเจดีย์ใหญ่ดั่งที่ฝันไว้จริง หลวงพ่อจรัญจึงสอนให้ศิษยานุศิษย์สวดมนต์ด้วยบทพาหุงมหากามาตลอด และบอกว่าเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่ามากที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา และท่านก็ได้นำบทสวดมาเผยแพร่ให้รู้จักกันในชื่อ “พุทธชัยมงคลคาถาทำให้พุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธานิยมสวดตามมาจนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อจรัญยังบอกอีกว่า ไม่เพียงแต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้น ที่พบความมหัศจรรย์ของบทสวดพาหุงมหากา แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงได้พบเช่นกัน

บทสวดพาหุง พุทธชัยมงคลคาถา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *